วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี

เชฟโรเลต เผยโฉม “ออโต้บอทส์” ภาคต่อ “ทรานส์ฟอร์เมอร์ส” สุดมันส์ ในงานชิคาโก ออโต้ โชว์ - พบสุดยอดเทคโนโลยีของรถเชฟวี่ใหม่ 4 รุ่น ชิคาโก - เชฟโรเลต เผยโฉม “ออโต้บอทส์ ”เหล่ารถหุ่นยนต์สุดไฮเทคประทับสัญลักษณ์ “โบไท” ในภาคต่อของหนังแอคชั่นสุดมัน “ทรานส์ฟอร์เมอร์ส: รีเวนจ์ ออฟ เดอะ ฟอลเลน” ที่กำลังจะเข้าฉายเร็วๆนี้ ผลิตโดยบริษัทสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง ดรีมเวิร์กส์ พิคเจอร์ส และ พาราเมาท์ พิคเจอร์ส



ตัวแสดงที่มีรากฐานการพัฒนามาจากยานยนต์เชฟโรเลตทั้ง 5 โมเดล ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแสดงใหม่ถึง 4 โมเดลนั้น จะมีบทบาทสำคัญในหนังใหม่ที่จะเปิดตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 26 มิถุนายน 2552 นี้ โดยตัวแสดงทุกตัวได้รับการจัดแสดงโชว์ที่บูธของเชฟโรเลต
สำหรับตัวแสดงเจ้าบทบาทใหม่ทั้งสี่ตัวประกอบไปด้วย

• ไซด์สไวพ (SIDESWIPE) – เป็นรถยนต์ต้นแบบแห่งการจินตนาการของรถคอร์เวทท์ที่ล้ำสมัย
• สคิดส์ และ มัดแฟล็บ (SKIDS and MUDFLAP) – ออโต้บอทส์ คู่แฝด ซึ่งได้รับการดัดแปลงมาจาก เชฟวี่ บีท (รถยนต์ต้นแบบที่จะนำไปใช้ผลิตเชฟวี่ สปาร์คในปี 2554) และ รถยนต์ต้นแบบ แทร็กซ์

• จอล์ท (JOLT) – ออโต้บอทส์ที่พัฒนามาจากเชฟวี่ โวลต์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีอันล้ำสมัย รุ่นล่าสุด บัมเบิ้ลบี (BUMBLEBEE) วีรบุรุษออโต้บอทส์ ซึ่งได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบจากรถสปอร์ตสุดหรู เชฟโรเลต คามาโรในภาคแรกของทรานส์ฟอร์เมอร์ส กลับมาอีกครั้งด้วยสมรรถนะที่เหนือกว่า โดยบัมเบิ้ลบี ในรูปร่างของหุ่นยนต์ออโต้บอทส์ ที่มีความสูง 17 ฟุต (5.2 เมตร) และ กว้าง 13 ฟุต (4 เมตร) จะถูกนำมาจัดแสดงโชว์บนเวที ควบคู่ไปกับยานยนต์เจ้าบทบาททั้ง 4 คันด้วย














“เชฟโรเลต รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ที่หลายคนรอคอยที่สุดเรื่องหนึ่งในปีนี้” เอ็ด เปเปอร์ รองประธาน เชฟโรเลต ภูมิภาคอเมริกาเหนือกล่าว “ทรานส์ฟอร์เมอร์ส เปิดโอกาสเราให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ ด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวแสดงใหม่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในโชว์รูมของเชฟโรเลต เริ่มจากคามาโร รถสปอร์ตสุดเร้าใจแห่งศตวรรษที่ 21 มาสู่วิวัฒนาการของเชฟวี่ โวลต์ และยังมีอะไรอีกมากมายรอให้ท่านมาเยี่ยมชม”
ในภาพยนตร์ “ทรานส์ฟอร์เมอร์ส: รีเวนจ์ ออฟ เดอะ ฟอลเลน” ซึ่งกำกับโดย ไมเคิล เบย์ พบกับออโต้บอทส์ เผชิญหน้ากับพยัคฆ์ร้ายตัวใหม่ ดีเซ็ปท์ติคอน ซึ่งกลับมาทวงแค้นหลังการต่อสู้บนโลกมนุษย์ในภาคแรก ตัวแสดงหุ่นยนต์ออโต้บอทส์รุ่นใหม่ ที่พัฒนามาจากยานยนต์เชฟโรเลต ต้องต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจที่แกร่งกว่าเดิม ผู้มีเป้าหมายที่จะยึดครองโลกให้ได้ “หุ่นยนต์ ออโต้บอทส์ ในภาพยนต์ทรานส์ฟอร์เมอร์ส : รีเวนจ์ ออฟ เดอะ ฟอลเลน ภาคนี้ มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นและบทแอ๊คชั่นเข้มข้นกว่าภาคที่แล้ว” ลี แอนน์ สเตเบิ้ล รองประธานบริหารการตลาดของพาราเมาท์ พิคเจอร์ส ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าว “มีการเพิ่มออโต้บอทส์สายพันธุ์ใหม่ในการดำเนินเรื่องภาคต่อนี้ และยานยนต์เชฟวี่เหล่านี้ทั้งหมดก็ได้เดินทางไปกับกองถ่ายทำภาพยนตร์ในทุกสถานที่ถ่ายทำทั่วโลก นับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ จีเอ็ม ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนทีมงานผู้สร้างภาพยนต์ภาคต่อเรื่องนี้อย่างเต็มที่”
นอกจากคามาโร ซึ่งจะได้กลับมาแสดงบทบาทอีกครั้งในภาคใหม่นี้แล้ว ต้นแบบจำลองเชฟวี่คันอื่นๆที่จะเผยโฉมในภาพยนตร์ล้วนเป็นตัวละครใหม่ทั้งหมด


ไซด์สไวพได้รับการดีไซน์มาจากจินตนาการยานยนต์ต้นแบบที่ล้ำสมัยโดยผู้ออกแบบรถยนต์คอร์เวทท์แห่ง จีเอ็ม การออกแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบดั้งเดิมของรถแข่ง คอร์เวทท์ สติงเรย์ ในปี พ.ศ. 2502 ผสมผสานกับรูปแบบของรถยนต์คอร์เวทท์ในรุ่นอื่นๆ ซึ่งการผสมผสานกันของทั้งสองรูปแบบนี้ส่งผลให้รูปร่างลักษณะของไซด์สไวพออกมาเป็นยานยนต์แห่งอนาคตโดยมีลักษณะครึ่งรถแข่งครึ่งยานอวกาศ
"ไซด์สไวพแสดงให้เห็นถึงการริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ สำหรับรถคอร์เวทท์” เอ็ด เปเปอร์ รองประธานฝ่ายออกแบบ กล่าว “โดยการให้อิสระแก่ทีมงานสร้างสรรค์ของผมในการออกแบบอย่างไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งนี้ ช่วยกระตุ้นให้ทีมงานกล้าที่จะคิดนอกกรอบ สู่จินตนาการแห่งอนาคตที่ก้าวล้ำ และมีมุมมองการออกแบบที่แตกต่างออกไป
สคิดส์ และ มัดแฟล็บ ตัวแสดงที่มีพื้นฐานการออกแบบมาจากรถยนต์บีท และ แทร็กซ์ ยังคงมีลักษณะที่เหมือนรถต้นแบบที่ได้รับการเปิดต้วที่งาน นิวยอร์ก ออโต้ โชว์ เมื่อปี 2550 อย่างไรก็ตาม ตัวแสดงทั้งสองจะมีสี และวัสดุการตกแต่งภายนอกอื่นๆใหม่ และถึงแม้ว่าจะเป็นยานยนต์ที่มีขนาดเล็ก แต่เมื่อทั้งสองแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์ต่อสู้ออโต้บอทส์แล้วก็จะกลายเป็นคู่ต่อสู้ที่ทรงพลังเลยทีเดียว
จอล์ท อีกหนึ่งหุ่นยนต์ออโต้บอทส์ ตัวแสดงใหม่ที่จะปรากฏโฉมในภาพยนต์เรื่องนี้ในรูปแบบของรถยนต์เชฟวี่ โวลต์ รุ่นปี พ.ศ. 2554 รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยรุ่นล่าสุด มีสมรรถนะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มากสูงสุดถึงกว่า 60 กิโลเมตร และอีกมากกว่า 160 กิโลเมตร ด้วยระบบขับเคลื่อนโวลเทค รถยนต์เชฟวี่ โวลต์ ที่นำไปใช้งานได้จริงบนท้องถนนจะเปลี่ยนวิถีการขับขี่ยานยนต์บนท้องถนนในอเมริกาอย่างแน่นอน
http://www.autobotsrollout.com/ แน่นอนที่สุด ทีมออโต้บ็อทส์ นั้น จะสมบูรณ์แบบไม่ได้เลยหากปราศจาก บัมเบิ้ลบี สุดยอดรถสปอร์ต คามาโร สีเหลือง ที่ถอดแบบมาจากรถคามาโรใหม่ที่จะผลิตออกสู่ตลาดในปี 2553 ด้วยล้อสไตล์สปอร์ตแบบใหม่ และ สมรรถนะของรุ่น ดับเบิ้ลเอส บัมเบิ้ลบีจึงดูโดดเด่นและเปี่ยมไปด้วยพละกำลังยิ่งกว่าเดิม ผู้สนใจสามารถจับจองเป็นเจ้าของคามาโรได้ เมื่อออกจำหน่ายในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนต์ ออโต้บ็อทส์ของเชฟโรเลต กรุณาเยี่ยมชมเวบไซต์ http://www.autobotsrollout.com/


เชฟโรเลต คือหนึ่งในแบรนด์รถยนต์ที่มีชื่อเสียงและขายดีที่สุด รวมถึงมีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เชฟวี่นำเสนอการออกแบบที่เหนือชั้น สมรรถนะที่โดดเด่น และคุณค่าอันน่าทึ่งด้วยองค์ประกอบหลักของรถยนต์ที่ปกติแล้วจะใช้สำหรับการประกอบรถยนต์ราคาสูงเท่านั้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชฟโรเลต กรุณาเยี่ยมชมเวบไซต์ http://www.chevrolet.com/






แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอฝาง


ดอยผ้าห่มปก หรือ ดอยฟ้าห่มปก


ดอยฟ้าห่มปก หรือดอยผ้าห่มปกเป็นชื่อดอยเดียวกัน เป็นยอดเขายอดหนึ่งบนเทือกเขาแดนลาว แต่เดิมอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่เหนือเชียงใหม่ขึ้นไป 160 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดอยอ่างขางที่โด่งดังไปทางเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร อยู่ทางด้านซ้ายมือของทางหลวงสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง ห่างจากถนนใหญ่ไปทางซ้ายมือประมาณ 25 กิโลเมตร ( ตามทางถนน)
เส้นทางขึ้นดอยและทะเลหมอกบนยอดดอย










ภาพทะเลหมอกตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและพื้นที่สีขาวเกิดน้าค้างแข็ง











การเดินทาง เมื่อเดินทางไปจาก กรุงเทพฯ มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อถึงเชียงใหม่ให้แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 107 เส้นทางไปแม่ริม ขับตรงสู่อำเภอฝาง ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ผ่าน อ. เชียงดาว ที่มีดอยหลวงเชียงดาวที่ยิ่งใหญ่ เมื่อจะเข้าเมืองฝางให้ใช้เส้นทางเลี่ยงเมือง วงแหวนฝั่งตะวันตก เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายเลี่ยงเมือง จะผ่านสี่แยกถนนเล็กๆ แล้วก็ผ่านสะพานข้ามลำห้วยเล็กๆ จากนั้นจะเจอทางสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางลาดยางสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ขับตรงไปจนเจอทางสามแยกให้แยกไปทางขวา ขับไปจนสุดถนนนั่นคือที่ทำการอุทยานฯ จอดรถไว้ที่ทำการอุทยาน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาขึ้นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4FD เพื่อไปส่งยังจุดเริ่มเดินเท้า พูดเหมือนสะดวกเพราะนั่นเป็นการเดินทางโดยรถส่วนตัวหรือรถตู้เช่าเหมาไป
การเดินทางโดยรถโดยสาร
จากกรุงเทพฯ มีรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ - ท่าตอน ของบริษัท บขส และ บ. นิววิริยะยานต์ วิ่งให้บริการ รถออกจากท่ารถหมอชิตใหม่ สี่โมงกว่า ห้าโมงกว่า หกโมงกว่า เวลาชัวร์ๆ โทรไปสอบถามที่สถานีขนส่ง รถจะผ่านเมืองฝางตอนเช้าตรู่ จากฝางเช่ารถเข้าไปยังอุทยาน หลังจากนั้นก็ติดต่อเจ้าหน้า เสียค่าธรรมเนียม และขึ้นดอย เที่ยวกลับมีรถสายเดิมวิ่งผ่านตอนสี่โมงกว่าๆ ห้าโมงกว่าๆ ถ้าให้ชัวร์ก็ต้องโทรไปสอบถามออฟฟิคของรถทัวร์ที่ฝาง

สิ่งอำนวยความสะดวก จุดกางเต็นท์พักแรม แต่ก่อนมี 3 จุด คือ กิ่วลมแค้มป์ เอเฟรมแคมป์ และ ที่ยอดดอยเหลือ 2 จุด คือ กิ่วลมและเอเฟรม

บริเวณกางเต็นท์ที่กิ่วลมแค้มป์ - มีลักษณะเป็นลานโล่งบนสันดอย ด้านซ้ายข้องภาพเป็นเนินสูง ด้านขวาของภาพเป็นเนินสูง ช่องนี้จึงเป็นจุดที่ลมผ่าน เรียกว่ากิ่วลม บริเวณหลังแค้มป์ ( ที่มีต้นสน ) คือจุดชมวิวพระอาทิตย์ตก ฝั่งตรงข้างคือด้านหน้าถัดออกมาคือจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก วิวโล่งฟ้าเปิด





สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลท่องเที่ยว การเดินทาง แผนที่ดอยอ่างขาง ที่พักดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม. ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิล พระตำหนักอ่างขาง รายละเอียดและจุดเด่นของแต่ละสถานที่ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

การเดินทาง
จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เป็นเส้นทางผ่านแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ทางแยกเข้าดอยอ่างขางมี 2 เส้นทาง คือ แยกซ้ายที่ กม.79 เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่ชันมากแต่ทางจะเปลี่ยวหน่อย ระยะทางจากแยกทางหลวงสาย 107 ไปจนถึงอ่างขางมีระยะทางประมาณ 50 กม. อีกเส้นทางคือแยกที่ กม.137 มีระยะทางถึงอ่างขางประมาณ 25 กม. เป็นเส้นทางที่สั้นแต่ชันมาก รถเก๋งและรถทุกชนิดขึ้นได้ถ้าคนขับมีฝีมือ ถ้าไม่แน่ใจให้จอดรถไว้ที่วัดที่ปากทาง กม.137 หรือจอดรถไว้ที่บริเวณลานจอดรถเอกชนมีรั้วมิดชิด สถานที่รับจอดรถอยู่ตรงข้ามกับปากทางเข้าดอยอ่างขาง ค่ารถจอดคันละ 50 บาท แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไป หรือเหมารถขึ้นไป จากเชียงใหม่ใช้เส้นทางสาย 1089 เลยอำเภอไชยปราการไปประมาณ 8.5 กิโลเมตร แยกซ้ายขึ้นดอยอ่างขางไปตามเส้นทางหมายเลข 1249 ตัดผ่านหมู่บ้านแล้วตัดตรงขึ้นดอยอ่างขาง เป็นเส้นทางที่ชันที่สุดและลุ้นที่สุดของเส้นทางในเมืองไทย

ค่าบำรุงสถานที่เพื่อเข้าชม
บัตรผ่านประตู ท่านละ 30 บาท รถยนต์คันละ 50 บาท จ่ายครั้งเดียวที่ปากทางเข้า เข้าชมจุดต่างๆ ภายในโครงการได้ทุกจุด

ที่พักดอยอ่างขาง
อ่างขางมีที่พักในบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติไว้บริการนักท่องเที่ยวให้เลือกพักได้ตามรสนิยมและเงินในกระเป๋าที่มีอยู่ มีทั้งที่พักหรูๆ ในบรรยากาศสุดยอดจนถึงที่พักแบบประหยัดบรรยากาศตามอัตภาพ ตลอดจนการนอนเต็นท์ก็มีเต็นท์ไว้ใช้เช่านอน

ที่พักที่อ่างขาง
ที่พักดอยอ่างขาง บ้านพักในสถานีเกษตรดอยอ่างขาง ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ 053-450107-9 ติดต่อบ้านพักกด 114

จุดกางเต็นท์พักแรม
ที่พักที่อ่างขางมีปริมาณไม่เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดของช่วงฤดูหนาว การกางเต็นท์พักแรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกสบายและประหยัด จุดกางเต็นท์ดอยอ่างขางมีกระจายอยู่หลายจุด จุดหลักคือบริเวณริมถนนก่อนลงสู่อ่างขาง พื้นที่กางเต็นท์อยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย มีห้องสุขาบริการ มีเตาให้เช่า มีฟืนขาย
อีกจุดคือจุดกางเต็นท์บริเวณสนามหน้าโรงเรือนตรงข้ามทางเข้าสถานีเกษตรอ่างขาง ลักษณะเป็นที่ราบข้างเสาธง มีห้องสุขาของโรงเรียนไว้บริการ ผู้ที่ไปใช้บริการพื้นที่นี้ควรช่วยค่าบำรุงสถานที่ด้วย จุดนี้มีผ้าห่มให้เช่า

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
ดอยอ่างขางอยู่บนที่สูง อากาศเย็นสบายตลอดปี เหมาะกับการขึ้นไปพักผ่อนได้ตลอดทั้งปี ความงดงามแตกต่างกันไปบ้างตามช่วงเวลา นักท่องเที่ยวจะขึ้นไปชมกันมากในช่วงฤดูหนาว

ช่วงฤดูหนาว ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ที่นี่จะมีความหนาวเย็นและดอกไม้เมืองหนาวออกดอกงดงามมาก ในบางช่วงเวลาอาจจะมีน้ำค้างแข็งหรือเหมยขาบจับยอดหญ้าในยามเช้า ดอกซากุระเมืองไทยหรือต้นพญาเสือโคร่งจะออกดอกสะพรั่งทั่วทั้งขุนเขาในช่วงปลายเดือนมกราคม-ต้นกุมภาพันธ์ ( แล้วแต่อากาศของแต่ละปี ) ในช่วงที่ดอกซากุระบานนี้ก็จะมีนกมาดูดกินน้ำหวาน การเที่ยวดอยอ่างขางในช่วงฤดูหนาวควรจะเตรียมชุดกันหนาวไปให้พร้อมเพราะที่นี่หนาวมาก

ช่วงฤดูร้อน มีนาคม-พฤษภาคม เหมาะที่จะหลบลมร้อนมานอนในบรรยากาศที่สบายกว่า ช่วงนี้ต้นเพาโลว์เนียจะออกดอกสีม่วงอมขาวบานสะพรั่งเต็มต้น สวยงามมาก
ช่วงฤดูฝน มิถุนายน-กันยายน ทางลื่นสักหน่อยแต่ป่าหน้าฝนก็คุ้มค่าที่จะมาเยือนเพราะสภาพป่าเขาและเทือกเขาจะมีสีเขียวสดชื่น ถึงแม้อาจจะเสี่ยงต่อการเจอฝนแต่ว่าถ้าหากฝนไม่ตกก็จะเป็นช่วงเวลาที่วิเศษที่สุดเนื่องจากสภาพอากาศจะใสปิ๊ง มองชมวิวได้ไกลๆ ไร้หมอกแดดขุ่นมัว
ช่วงปลายฝนต้นหนาว ตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย ป่ายังไม่แห้งนัก ช่วงนี้ต้นเมเปิลและไม้ป่าอื่นๆ เริ่มเปลี่ยนสี กลายเป็นป่าเปลี่ยนสีที่มีสีสันแปลกตา งดงามไปทั่วทั้งหุบเขา
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาโทรสอบถามที่เบอร์ 1672 สายด่วนท่องเที่ยว

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.5 เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ 5 ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่5) ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พลังงาน ระยะเวลา 2 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต
วันที่ เดือน พ.ศ.
........................................................................................................................................

มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงาน
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายถึงความสำคัญของเสียงต่อการดำรงชีวิตได้
2. ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของคลื่นเสียงได้
3. มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4. สร้างชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี
5. มีจิตวิทยาศาสตร์
2 สาระหลัก
เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง จากการศึกษาธรรมชาติและสมบัติของเสียง สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายด้านด้วยกัน
3.1 ขั้นปลุกเร้าความเข้าใจ
3.1.1 ครูถามนักเรียนว่าถ้าเกิดหูหนวกจะเป็นอย่างไร ให้นักเรียนช่วยกันตอบ เขียนคำตอบที่ต้องการสัก 4–5 ข้อบนกระดานเพื่อสรุปว่าเสียงมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขและปลอดภัย
3.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดผลการเรียนรู้ข้อที่ 1–5 เพื่อให้มีความรู้ตามขั้นตอนดังนี้
3.2.1 ขั้นที่ 1 ทบทวน
ครูทบทวนถึงความสำคัญของเสียงกับการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์แล้วให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 สังเกตเสียงกับพฤติกรรมของสัตว์ โดยใช้เวลานอกเวลาเรียนในการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์
3.2.2 ขั้นที่ 2 ให้ความรู้
3.2.2.1 ครูให้ความรู้เรื่องประโยชน์จากคลื่นเสียงตามเนื้อหาในแบบเรียนและให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 ประโยชน์จากคลื่นเสียง
3.2.3 ขั้นที่ 3 พัฒนาความเข้าใจ
3.2.3.1 นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 เกมหาพวก
3.3 ขั้นอภิปราย และลงข้อสรุป
3.3.1 นักเรียนร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปโดยมีครูช่วยเสริมส่วนที่ขาดได้ดังนี้
3.3.1.1 เสียงมีความสำคัญในการดำรงชีวิตต่อคนและสัตว์อย่างมาก
3.3.1.2 มนุษย์ใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียงในด้านต่าง ๆ มากมาย
3.4 ขั้นขยายความรู้/มโนทัศน์
3.4. 1 นักเรียนเขียนประโยชน์ที่นักเรียนได้จากการได้ยินเสียงในวันใดวันหนึ่งมา 1 วัน
3.5 ขั้นประเมิน
3.5.1 นักเรียนศึกษาค้นคว้า ทดลอง สังเกต อธิบายถึงความสำคัญของเสียงต่อการดำรงชีวิตได้ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของคลื่นเสียงได้
3.5.2 ทำแบบทดสอบหล

4. การวัดผลประเมินผล
4.1 วิธีการ
4.1.1 สังเกต
4.1.1.1 พิจารณาจากการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น
4.1.1.2 พิจารณาจากการตั้งคำถามและการตอบคำถามจากเนื้อเรื่องของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
4.1.1.3 การวางแผน กระบวนการทำงาน
4.1.1.4 พิจารณาจากการรายงาน การระดมความคิด
4.1.1.5 การสรุปข้อมูล การตอบคำถาม
4.1.1.6 การมีส่วนร่วม
4.1.2 ตรวจสอบ
4.1.2.1 ตรวจแบบทดสอบ
4.1.2.2 ตรวจการทดลอง/ผลการทดลอง
4.2 เครื่องมือวัดและประเมิน
4.2.1 แบบสังเกตการณ์ทำงาน
4.2.2 แบบประเมินการตอบคำถาม
4.2.3 แบบทดสอบหลังเรียน
4.3 เกณฑ์การวัดและประเมิน
ถือเกณฑ์การผ่านร้อยละ 80
5. วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้
5.1 วัสดุอุปกรณ์
-
5.2 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
5.2.1 ใบความรู้
5.2.2 ใบคำถาม/ใบกิจกรรม
6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
...................................................................................................................................


ใบความรู้
เรื่องการนำเรื่องเสียงไปใช้ประโยชน์

จากการศึกษาธรรมชาติและสมบัติของเสียง เราได้นำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่างๆหลายด้านด้วยกัน เช่น
1. ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบอาคาร ห้องประชุมต่างๆ มักต้องคำนึงเกี่ยวกับเสียงสะท้อนกลับ ว่าต้องการให้มีหรือไม่ หรือต้องการให้มีมมากน้อยเพียงใด
- ถ้าต้องการให้มีมากก็ต้องออกแบบผนังห้อง เพดาน ให้เกิดเสียงสะท้อนกลับมาเสริมกัน
- ถ้าลดเสียงสะท้อนกลับ ต้องออกแบบให้เกิดเสียงสะท้อนกลับมาหักล้างกัน
- ใช้วัสดุดูดกลืนเสียงบุผนังห้องและเพดาน
2. ด้านการประมง
- เรือประมงใช้เครื่องโซนาร์ (SONAR = Sound Navigation and Ranging) หาตำแหน่งของฝูงปลา

- SONAR จะใช้คลื่นเหนือเสียงในช่วง 20-100 กิโลเฮิรตซ์
- การทำงานของโซนาร์จะส่งคลื่นเหนือเสียงออกไปเป็นจังหวะ เมื่อคลื่นกระทบฝูงปลาจะสะท้อนกลับมายังเรือ และสัญญาณเสียงจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านเครื่องวิเคราะห์สัญญาณซึ่งจะบอกช่วงห่างของเวลาระหว่างสัณญาณเสียงที่ส่งออกกับสัณญาณเสียงที่สะท้อนกลับ และแปลงช่วงเวลาเป็นระยะห่างของวัตถุที่สะท้อน โดยจะแสดงผลออกมาทางจอภาพ
นอกจากนี้เขายังใช้คลื่นเหนือเสียงสื่อสารระหว่างเรือด้วยกันอีกด้วย
3. ด้านการแพทย์
- แพทย์ได้นำคลื่นเหนือเสียงมาใช้ในการตรวจอวัยวะภายในของคนเรา เพื่อวินิจฉัยสาหตุของความผิดปกติ เช่น การตรวจการทำงานของลิ้นหัวใจ ตรวจมดลูก ตรวจครรภ์ ตรวจเนื้องอก ตับ ม้าม และสมอง










- คลื่นเหนือเสียงสามารถสะท้อนที่รอยต่อระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดีกว่ารังสีเอกซ์มาก
- คลื่นเหนือเสียงที่ใช้ในวงการแพทย์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานคลื่นเหนือเสียงด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความถี่ใช่วง1-10 MHz
- คลื่นเหนือเสียงผ่านผิวหนังเข้าสู่สร่างกายไปกระทบเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกันสะท้อนคลื่นได้ดีต่างกัน เครื่องรับคลื่นสะท้อนจะเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเมื่อผ่านเครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณแล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์จะส่งผลสรุปออกมาทางจอภาพ
4. ด้านธรณีวิทยา
การสำรวจธรณีฟิสิกส์เป็นขั้นตอนการสำรวจ โดยการศึกษาความแตกต่างและคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นหิน เช่น การวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก การวัดค่าแรงดึงดูดของโลก การวัดความไหวสะเทือน ทั้งนี้เพื่อจะนำมาศึกษาและแปลความหมายประกอบกับการสำรวจทางธรณีวิทยา
การสำรวจน้ำมันโดยการระเบิดบางจุดบนพื้นดิน แรงระเบิดจะสั่นสะเทือนไปทุกทิศทางเมื่อถึงชั้นหินก็จะสะท้อนกลับ และมีเครื่องวัดแรงสะท้อน ซึ่งบอกเวลาและแรงสั่นสะเทือนออกมาในกระดาษจากข้อมูลจะพอบอกลักษณะของแอ่งน้ำมัน
5. ด้านวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
- คลื่นเหนือเสียงยงสามารถนำไปใช้ตรวจรอยร้าวในวัตถุที่ทึบๆ เช่น รอยร้าวในท่อแก๊ส หรือรอยร้าวบนรางรถไฟ
- หลักการทำงานส่งคลื่น Ultrasonic ออกไปแล้วรับคลื่นสะท้อนกลับ แต่เปลี่ยนคลื่นสะท้อนกลับให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากส่วนปกติกับส่วนที่เป็นรอยร้าวจะมีความแตกต่างกัน




ใบงาน
เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. เสียงป้องกันอันตรายให้แก่สัตว์ได้อย่างไร
....................................................................................................

....................................................................................................

....................................................................................................

....................................................................................................

2. อัลตราซาวด์ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง จงเขียนบรรยายเป็นข้อๆ

.....................................................................................................

....................................................................................................

.....................................................................................................

.....................................................................................................





ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสุรีย์วรรณ สุภาธาดา

ชื่อเล่น แฟน

อายุ 25 ปี

วันเดือนปีเกิด 3 พฤศจิกายน 2527

การศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์/ฟิสิกส์

กรุ๊ปเลือด A

ที่อยู่ 138 หมู่ 2 ต.โป่งน้ำร้อน อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ 50110

สถานที่ทำงาน โรงเรียนสายอักษร ต. เวียง อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ 50110