วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.5 เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ 5 ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่5) ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พลังงาน ระยะเวลา 2 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต
วันที่ เดือน พ.ศ.
........................................................................................................................................

มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงาน
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายถึงความสำคัญของเสียงต่อการดำรงชีวิตได้
2. ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของคลื่นเสียงได้
3. มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4. สร้างชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี
5. มีจิตวิทยาศาสตร์
2 สาระหลัก
เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง จากการศึกษาธรรมชาติและสมบัติของเสียง สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายด้านด้วยกัน
3.1 ขั้นปลุกเร้าความเข้าใจ
3.1.1 ครูถามนักเรียนว่าถ้าเกิดหูหนวกจะเป็นอย่างไร ให้นักเรียนช่วยกันตอบ เขียนคำตอบที่ต้องการสัก 4–5 ข้อบนกระดานเพื่อสรุปว่าเสียงมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขและปลอดภัย
3.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดผลการเรียนรู้ข้อที่ 1–5 เพื่อให้มีความรู้ตามขั้นตอนดังนี้
3.2.1 ขั้นที่ 1 ทบทวน
ครูทบทวนถึงความสำคัญของเสียงกับการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์แล้วให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 สังเกตเสียงกับพฤติกรรมของสัตว์ โดยใช้เวลานอกเวลาเรียนในการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์
3.2.2 ขั้นที่ 2 ให้ความรู้
3.2.2.1 ครูให้ความรู้เรื่องประโยชน์จากคลื่นเสียงตามเนื้อหาในแบบเรียนและให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 ประโยชน์จากคลื่นเสียง
3.2.3 ขั้นที่ 3 พัฒนาความเข้าใจ
3.2.3.1 นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 เกมหาพวก
3.3 ขั้นอภิปราย และลงข้อสรุป
3.3.1 นักเรียนร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปโดยมีครูช่วยเสริมส่วนที่ขาดได้ดังนี้
3.3.1.1 เสียงมีความสำคัญในการดำรงชีวิตต่อคนและสัตว์อย่างมาก
3.3.1.2 มนุษย์ใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียงในด้านต่าง ๆ มากมาย
3.4 ขั้นขยายความรู้/มโนทัศน์
3.4. 1 นักเรียนเขียนประโยชน์ที่นักเรียนได้จากการได้ยินเสียงในวันใดวันหนึ่งมา 1 วัน
3.5 ขั้นประเมิน
3.5.1 นักเรียนศึกษาค้นคว้า ทดลอง สังเกต อธิบายถึงความสำคัญของเสียงต่อการดำรงชีวิตได้ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของคลื่นเสียงได้
3.5.2 ทำแบบทดสอบหล

4. การวัดผลประเมินผล
4.1 วิธีการ
4.1.1 สังเกต
4.1.1.1 พิจารณาจากการอภิปราย การแสดงความคิดเห็น
4.1.1.2 พิจารณาจากการตั้งคำถามและการตอบคำถามจากเนื้อเรื่องของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
4.1.1.3 การวางแผน กระบวนการทำงาน
4.1.1.4 พิจารณาจากการรายงาน การระดมความคิด
4.1.1.5 การสรุปข้อมูล การตอบคำถาม
4.1.1.6 การมีส่วนร่วม
4.1.2 ตรวจสอบ
4.1.2.1 ตรวจแบบทดสอบ
4.1.2.2 ตรวจการทดลอง/ผลการทดลอง
4.2 เครื่องมือวัดและประเมิน
4.2.1 แบบสังเกตการณ์ทำงาน
4.2.2 แบบประเมินการตอบคำถาม
4.2.3 แบบทดสอบหลังเรียน
4.3 เกณฑ์การวัดและประเมิน
ถือเกณฑ์การผ่านร้อยละ 80
5. วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้
5.1 วัสดุอุปกรณ์
-
5.2 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
5.2.1 ใบความรู้
5.2.2 ใบคำถาม/ใบกิจกรรม
6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
...................................................................................................................................


ใบความรู้
เรื่องการนำเรื่องเสียงไปใช้ประโยชน์

จากการศึกษาธรรมชาติและสมบัติของเสียง เราได้นำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่างๆหลายด้านด้วยกัน เช่น
1. ด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบอาคาร ห้องประชุมต่างๆ มักต้องคำนึงเกี่ยวกับเสียงสะท้อนกลับ ว่าต้องการให้มีหรือไม่ หรือต้องการให้มีมมากน้อยเพียงใด
- ถ้าต้องการให้มีมากก็ต้องออกแบบผนังห้อง เพดาน ให้เกิดเสียงสะท้อนกลับมาเสริมกัน
- ถ้าลดเสียงสะท้อนกลับ ต้องออกแบบให้เกิดเสียงสะท้อนกลับมาหักล้างกัน
- ใช้วัสดุดูดกลืนเสียงบุผนังห้องและเพดาน
2. ด้านการประมง
- เรือประมงใช้เครื่องโซนาร์ (SONAR = Sound Navigation and Ranging) หาตำแหน่งของฝูงปลา

- SONAR จะใช้คลื่นเหนือเสียงในช่วง 20-100 กิโลเฮิรตซ์
- การทำงานของโซนาร์จะส่งคลื่นเหนือเสียงออกไปเป็นจังหวะ เมื่อคลื่นกระทบฝูงปลาจะสะท้อนกลับมายังเรือ และสัญญาณเสียงจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านเครื่องวิเคราะห์สัญญาณซึ่งจะบอกช่วงห่างของเวลาระหว่างสัณญาณเสียงที่ส่งออกกับสัณญาณเสียงที่สะท้อนกลับ และแปลงช่วงเวลาเป็นระยะห่างของวัตถุที่สะท้อน โดยจะแสดงผลออกมาทางจอภาพ
นอกจากนี้เขายังใช้คลื่นเหนือเสียงสื่อสารระหว่างเรือด้วยกันอีกด้วย
3. ด้านการแพทย์
- แพทย์ได้นำคลื่นเหนือเสียงมาใช้ในการตรวจอวัยวะภายในของคนเรา เพื่อวินิจฉัยสาหตุของความผิดปกติ เช่น การตรวจการทำงานของลิ้นหัวใจ ตรวจมดลูก ตรวจครรภ์ ตรวจเนื้องอก ตับ ม้าม และสมอง










- คลื่นเหนือเสียงสามารถสะท้อนที่รอยต่อระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดีกว่ารังสีเอกซ์มาก
- คลื่นเหนือเสียงที่ใช้ในวงการแพทย์เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานคลื่นเหนือเสียงด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความถี่ใช่วง1-10 MHz
- คลื่นเหนือเสียงผ่านผิวหนังเข้าสู่สร่างกายไปกระทบเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกันสะท้อนคลื่นได้ดีต่างกัน เครื่องรับคลื่นสะท้อนจะเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเมื่อผ่านเครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณแล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์จะส่งผลสรุปออกมาทางจอภาพ
4. ด้านธรณีวิทยา
การสำรวจธรณีฟิสิกส์เป็นขั้นตอนการสำรวจ โดยการศึกษาความแตกต่างและคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นหิน เช่น การวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก การวัดค่าแรงดึงดูดของโลก การวัดความไหวสะเทือน ทั้งนี้เพื่อจะนำมาศึกษาและแปลความหมายประกอบกับการสำรวจทางธรณีวิทยา
การสำรวจน้ำมันโดยการระเบิดบางจุดบนพื้นดิน แรงระเบิดจะสั่นสะเทือนไปทุกทิศทางเมื่อถึงชั้นหินก็จะสะท้อนกลับ และมีเครื่องวัดแรงสะท้อน ซึ่งบอกเวลาและแรงสั่นสะเทือนออกมาในกระดาษจากข้อมูลจะพอบอกลักษณะของแอ่งน้ำมัน
5. ด้านวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
- คลื่นเหนือเสียงยงสามารถนำไปใช้ตรวจรอยร้าวในวัตถุที่ทึบๆ เช่น รอยร้าวในท่อแก๊ส หรือรอยร้าวบนรางรถไฟ
- หลักการทำงานส่งคลื่น Ultrasonic ออกไปแล้วรับคลื่นสะท้อนกลับ แต่เปลี่ยนคลื่นสะท้อนกลับให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากส่วนปกติกับส่วนที่เป็นรอยร้าวจะมีความแตกต่างกัน




ใบงาน
เรื่อง เสียงกับการดำรงชีวิต

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. เสียงป้องกันอันตรายให้แก่สัตว์ได้อย่างไร
....................................................................................................

....................................................................................................

....................................................................................................

....................................................................................................

2. อัลตราซาวด์ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง จงเขียนบรรยายเป็นข้อๆ

.....................................................................................................

....................................................................................................

.....................................................................................................

.....................................................................................................





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น